ซึ่งเมื่อพิจารณาตามตัวอักษรแล้ว ในภาษาอารบิก คำว่า alaqah นั้น มีอยู่ 3 ความหมาย ได้แก่ (1) ปลิง (2) สิ่งแขวนลอย และ (3) ลิ่มเลือด. ในการเปรียบเทียบปลิงกับตัวอ่อนในระยะที่เป็นalaqah นั้น เราได้พบความคล้ายกันระหว่างสองสิ่งนี้2 ซึ่งเราสามารถดูได้จากรูปที่ 1 นอกจากนี้ ตัวอ่อนที่อยู่ในระยะดังกล่าวจะได้รับการหล่อเลี้ยงจากเลือดของมารดา ซึ่งคล้ายกับปลิงซึ่งได้รับอาหารจากเลือดที่มาจากผู้อื่น3
ความหมายที่สองของคำว่า alaqah คือ “สิ่งแขวนลอย” ซึ่งเราสามารถดูได้จากรูปที่ 2 และ 3 สิ่งแขวนลอยของตัวอ่อน ในช่วงระยะ alaqah ในมดลูกของมารดา
ความหมายที่สามของคำว่า alaqah คือ “ลิ่มเลือด” เราพบว่าลักษณะภายนอกของตัวอ่อนและส่วนที่เป็นถุงในช่วงระยะ alaqah นั้น จะดูคล้ายกับลิ่มเลือด ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า มีเลือดอยู่ในตัวอ่อนค่อนข้างมากในช่วงระยะดังกล่าว4 (ดูรูปที่ 4) อีกทั้งในช่วงระยะดังกล่าว เลือดที่มีอยู่ในตัวอ่อนจะไม่หมุนเวียนจนกว่าจะถึงปลายสัปดาห์ที่สาม5 ดังนั้น ตัวอ่อนในระยะนี้จึงดูเหมือนลิ่มเลือดนั่นเอง. ดังนั้น ทั้งสามความหมายของคำว่า alaqah นั้น ตรงกับลักษณะของตัวอ่อนในระยะ alaqah เป็นอย่างยิ่ง ในระยะต่อมาที่กล่าวไว้ในพระคัมภีร์ก็คือ ระยะ mudghah ในภาษาอารบิกคำว่า mudghahหมายความว่า “สสารที่ถูกขบเคี้ยว” ถ้าคนใดได้หมากฝรั่งมาชิ้นหนึ่ง และใส่ปากเคี้ยว จากนั้นลองเปรียบเทียบหมากฝรั่งกับตัวอ่อนที่อยู่ในช่วงระยะ mudghah เราจึงสรุปได้ว่าตัวอ่อนในช่วงระยะ mudghah จะมีลักษณะเหมือนสสารที่ถูกขบเคี้ยว ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า ไขสันหลังที่อยู่ด้านหลังของตัวอ่อนมีลักษณะ “ค่อนข้างคล้ายกับร่องรอยของฟันบนสสารที่ถูกขบเคี้ยว “ (ดูรูปที่ 5 และ 6)6
พระมูหะหมัด ศาสตาจารย์กิตติมศักดิ์ Emeritus Keith L. Moore8หนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดคนหนึ่งของโลก ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขากายวิภาควิทยาและวิชาว่าด้วยการศึกษาตัวอ่อนของสิ่งมีชีวิต อีกทั้งยังเป็นผู้แต่งหนังสือที่ชื่อว่า Developing Human ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้นำไปแปลถึงแปดภาษา หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ใช้สำหรับอ้างอิงงานทางวิทยาศาสตร์ และยังได้รับเลือกจากคณะกรรมการพิเศษของสหรัฐอเมริกาให้เป็นหนังสือที่ดีที่สุดที่แต่งขึ้นโดยบุคคลเพียงคนเดียว Dr. Keith Moore เป็นศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์แห่งภาควิชากายวิภาควิทยาและเซลล์ชีววิทยา ที่มหาวิทยาลัยโตรอนโต (University of Toronto) เมืองโตรอนโต ประเทศแคนนาดา.ณ ที่แห่งนั้น เขาดำรงตำแหน่งรองคณบดีสาขาวิทยาศาสตร์มูลฐานของคณะแพทย์ศาสตร์ และดำรงตำแหน่งประธานแผนกกายวิภาควิทยาเป็นเวลา 8 ปี ในปีพ.ศ. 2527 เขาได้รับรางวัลที่น่าชื่นชมที่สุดในสาขากายวิภาคของประเทศแคนนาดา นั่นคือรางวัล J.C.B Grant Award จากสมาคมนักกายวิภาควิทยาแคนนาดา (Canadian Association of Anatomists) เขาได้กำกับดูแลสมาคมนานาชาติต่างๆ มากมาย เช่น สมาคมนักกายวิภาควิทยาแคนนาดาและอเมริกา (Canadian and American Association of Anatomists) และ สภาสหภาพวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Council of the Union of Biological Sciences) เป็นต้น. ในปีพ.ศ 2524 ระหว่างการประชุมด้านการแพทย์ครั้งที่ 7 ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองแดมแมม ประเทศซาอุดิอาระเบีย ศาสตราจารย์ Moore ได้กล่าวว่า “ข้าพเจ้าภาคภูมิใจอย่างหาที่สุดมิได้ที่ได้ช่วยให้เรื่องราวต่างๆ ที่กล่าวไว้ในพระคัมภีร์กุรอานเกี่ยวกับการพัฒนาการของมนุษย์ให้มีความชัดเจน อีกทั้งยังทำให้ข้าพเจ้ามีความเข้าใจอย่างกระจ่างชัดว่าคำกล่าวเหล่านี้ต้องมาจากพระดำรัสของพระผู้เป็นเจ้าโดยผ่านทางพระมูหะหมัด เพราะว่าความรู้เกือบทั้งหมดนี้ไม่เคยถูกค้นพบมาก่อนจนกระทั่งอีกหลายศตวรรษต่อมา สิ่งนี้พิสูจน์ให้ข้าพเจ้าเห็นว่าพระมูหะหมัดจะต้องเป็นผู้ถือสารจากพระผู้เป็นเจ้าอย่างแน่นอน” 9
(To view the RealPlayer video of this comment click
here ต่อมา ศาสตราจารย์ Moore ได้ถูกตั้งคำถามดังต่อไปนี้ หมายความว่า ท่านมีความเชื่อว่า พระคัมภีร์กุรอานนั้นเป็นพระดำรัสจากพระผู้เป็นเจ้าจริงหรือไม่ เขาตอบว่า “ข้าพเจ้ายอมรับสิ่งดังกล่าวนี้ได้อย่างสนิทใจ” 10 ในระหว่างการประชุมครั้งหนึ่ง ศาสตราจารย์ Moore ได้กล่าวว่า “…..เพราะว่าในช่วงระยะตัวอ่อนของมนุษย์นั้นมีความซับซ้อน เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในระหว่างการพัฒนาของตัวอ่อน มีการเสนอว่าควรมีการพัฒนาระบบการแบ่งประเภทตัวอ่อนใหม่โดยใช้คำศัพท์ที่กล่าวไว้ในพระคัมภีร์กุรอานและซุนนาห์ (Sunnah) (สิ่งที่พระมูหะหมัด _____________________________ เชิงอรรถ:: (1) หมายเหตุ สิ่งที่อยู่ในวงเล็บพิเศษ (2) The Developing Human ของ Moore และ Persaud ปรับปรุงครั้งที่ 5 หน้า 8. (3) Human Development as Described in the Quran and Sunnah ของ Moore และคณะ หน้า 36. (4) Human Development as Described in the Quran and Sunnah ของมัวร์และคณะ หน้า 37-38.
(5) The Developing Human ของ Moore และ Persaud ปรับปรุงครั้งที่ 5 หน้า 65. (6) The Developing Human ของ Moore และ Persaud ปรับปรุงครั้งที่ 5 หน้า 8 . (7) The Developing Human ของ Moore และ Persaud ปรับปรุงครั้งที่ 5 หน้า 9 . (8) หมายเหตุ: อาชีพของนักวิทยาศาสตร์ทุกท่านที่กล่าวไว้ในเว็บไซต์นี้ได้รับการอัพเดทครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2540 . (9) การอ้างอิงคำกล่าวนี้ This is the Truth (วีดีโอเทป) . For a copy of this videotape, please visit this page. (10) This is the Truth (วีดีโอเทป). (11) This is the Truth (วีดีโอเทป) หากต้องการสำเนา ให้ดูเชิงอรรถที่ 9. โฮมเพจ: www.islam-guide.com |