1) การปฏิญาณตนในเรื่องความศรัทธาการปฏิญาณตนในเรื่องความศรัทธาคือการกล่าวด้วยศรัทธาอย่างแรงกล้าว่า “La ilaha illa Allah, Muhammadur rasoolu Allah” คำกล่าวนี้หมายความว่า “ไม่มีพระผู้เป็นเจ้า (เทพเจ้า) ที่แท้จริงอื่นใด นอกจากพระผู้เป็นเจ้า (พระอัลเลาะห์),1 และพระมูหะหมัดคือผู้ถือสาร (พระศาสดา) ของพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น” ในส่วนแรกวลีที่ว่า “ไม่มีพระผู้เป็นเจ้าที่แท้จริงอื่นใด นอกจากพระผู้เป็นเจ้า” หมายความว่าไม่มีผู้ใดมีสิทธิ์ที่จะได้รับการเคารพบูชานอกจากพระผู้เป็นเจ้าเพียงพระองค์เดียว และพระผู้เป็นเจ้าทรงไม่มีทั้งบริวารหรือพระบุตร การปฏิญาณตนในเรื่องความศรัทธานี้เรียกว่า ซาฮาดะ (Shahada) เป็นการกล่าวอย่างง่ายๆ ซึ่งควรกล่าวด้วยศรัทธาอันแรงกล้าเพื่อเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม (ตามที่ได้อธิบายมาแล้วก่อนหน้านี้) การปฏิญาณในเรื่องความศรัทธาถือเป็นเสาหลักที่สำคัญที่สุดในศาสนาอิสลาม 2) การละหมาดชาวมุสลิมจะทำพิธีละหมาดวันละห้าครั้ง ในการละหมาดแต่ละครั้งจะใช้เวลาไม่เกินครั้งละสองสามนาที การละหมาดในศาสนาอิสลามจะเป็นการติดต่อกันโดยตรงระหว่างผู้ละหมาดกับพระผู้เป็นเจ้า ไม่มีสื่อกลางระหว่างพระผู้เป็นเจ้ากับผู้ละหมาดแต่อย่างใด. ในการทำละหมาด บุคคลผู้นั้นจะรู้สึกเกษมศาน สันติและสบายใจอยู่ภายใน และนั่นก็หมายความว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงยินดีกับเขาหรือเธอผู้นั้น พระศาสดามูหะหมัด ทรงตรัสว่า {บิลาอัล เรียก (ผู้คน) มาทำละหมาด ให้พวกเรารู้สึกสบายจากการละหมาดนั้น.}2 บิลาอัล (Bilal) คือหนึ่งในพระสหายของพระมูหะหมัดซึ่งมีหน้าที่เรียกผู้คนมาทำละหมาด. การทำละหมาดจะกระทำในเวลารุ่งอรุณ เที่ยง บ่าย พระอาทิตย์ตกดิน และกลางคืน ชาวมุสลิมอาจจะทำการละหมาดได้เกือบทุกสถานที่ เช่น ในกลางทุ่ง สำนักงาน โรงงาน หรือในมหาวิทยาลัย 3) การให้ ซากัต (การช่วยเหลือแก่ผู้ยากไร้)ทุกสรรพสิ่งเป็นของพระผู้เป็นเจ้า เพราะฉะนั้นมนุษย์จึงครอบครองทรัพย์สมบัติแทนพระองค์ ความหมายเดิมของคำว่า ซากัต นั้น มีความหมายทั้ง ‘การชำระล้างบาป’ และ ‘ความเจริญรุ่งเรือง’ การให้ ซากัต นั้นหมายถึง ‘การให้ตามอัตราส่วนจากจำนวนทรัพย์สินที่มีอยู่แก่ผู้ยากไร้ตามลำดับที่เหมาะสม’. อัตราส่วนซึ่งเป็นทองคำ เงินและเงินสดซึ่งอาจมีจำนวนประมาณ 85 กรัมของน้ำหนักทองคำ และถือครองเป็นเจ้าของเป็นเวลาหนึ่งปีทางจันทรคติถือเป็นสองเปอร์เซนต์ครึ่ง การถือครองของพวกเราได้รับการชำระล้างบาปด้วยการจัดแบ่งส่วนเล็กๆ ไว้สำหรับบุคคลผู้มีความจำเป็น และเฉกเช่นเดียวกับการตัดแต่งต้นไม้ การตัดแต่งนี้เพื่อให้เกิดความสมดุล อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมให้การเจริญเติบโตอีกด้วย บุคคลหนึ่งอาจให้ทานมากเท่าที่ตนต้องการได้ โดยถือเป็นการทำบุญกุศลหรือบริจาคทานด้วยความสมัครใจ. 4) การถือศีลอดในเดือนรอมฎอน.ทุกๆ ปีในเดือนรอมฎอน,4 ชาวมุสลิมทั้งหมดจะถือศีลอดตั้งแต่รุ่งอรุณจวบจนพระอาทิตย์ตกดิน โดยจะละเว้นจากอาหาร น้ำดื่มและการมีเพศสัมพันธ์. แม้ว่าการถือศีลอดจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่การถือศีลอดได้รับการยอมรับเป็นส่วนใหญ่ว่าเป็นวิธีหนึ่งของการชำระล้างจิตใจของตัวเอง โดยการตัดตัวเองออกจากความสะดวกสบายในทางโลก แม้ว่าจะเป็นเพียงระยะสั้นๆ บุคคลผู้ถือศีลอดจะรู้สึกเห็นใจผู้หิวโหยอย่างแท้จริง ในเวลาเดียวกันก็ช่วยให้จิตใจของผู้ถือศีลอดเจริญเติบโตไปด้วย. 5) การแสวงบุญที่นครเมกกะห์การไปแสวงบุญประจำปี (ฮัจจ์) ที่นครเมกกะห์ ถือเป็นภาระหน้าที่อย่างหนึ่ง ครั้งหนึ่งในชีวิตสำหรับบุคคลซึ่งมีความสามารถทั้งทางร่างกายและทางการเงินที่จะทำได้ ในแต่ละปีผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกประมาณสองล้านคนต่างไปชุมนุมกันที่นครเมกกะห์ แม้ว่านครเมกกะห์จะคราคร่ำไปด้วยผู้มาเยือนอยู่ตลอดเวลา แต่พิธีฮัจจ์ในแต่ละปีจัดให้มีขึ้นในเดือนสิบสองตามปฏิทินอิสลาม ผู้แสวงบุญชายจะสวมใส่เสื้อผ้าเรียบง่ายเป็นพิเศษเพื่อขจัดการแบ่งแยกชนชั้นและวัฒนธรรมออกไป เพื่อว่าทุกคนจะได้ยืนอย่างเท่าเทียมกันต่อหน้าพระผู้เป็นเจ้า.
การประกอบพิธีฮัจจ์ รวมถึงการเดินรอบกาบาจำนวนเจ็ดรอบและเดินไปอีกเจ็ดรอบระหว่างเนินเขาซาฟา (Safa) และมาร์วา (Marwa) เช่นเดียวกับที่ฮาการ์ (Hagar) เคยกระทำระหว่างที่เธอค้นหาน้ำ จากนั้นผู้แสวงบุญจะยืนรวมกันในอะราฟา (Arafa)5 5และสวดอ้อนวอนต่อพระผู้เป็นเจ้าในสิ่งที่พวกเขาปรารถนาอีกทั้งยังขอประทานอภัยจากพระองค์ด้วย ซึ่งมักจะคิดว่าเป็นการซักซ้อมในวันพิพากษา. วันเสร็จสิ้นการประกอบพิธีฮัจจ์ จะจบลงด้วยเทศกาล Eid Al-Adha ซึ่งเป็นการเฉลิมฉลองพร้อมกับการทำละหมาด การเฉลิมฉลองนี้และเทศกาล Eid ai-Fitr ซึ่งเป็นวันเลี้ยงฉลอง เพื่อเป็นการระลึกถึงวันสิ้นสุดของเดือนรอมฎอน ซึ่งเป็นสองเทศกาลประจำปีตามปฏิทินศาสนาอิสลาม. _____________________________ เชิงอรรถ: (1) สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำว่า อัลเลาะห์ คลิกที่นี่, คลิกที่นี่. (2) บรรยายไว้ใน Abu-Dawood เลขที่ 4985 และ Mosnad Ahmad เลขที่ 22578. (3) เพื่อสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้ , คลิกที่นี่. (4) เดือนรอมฏอนคือเดือนที่เก้าของปฏิทินศาสนาอิสลาม (เดือนทางจันทรคติ ไม่ไช่ทางสุริยคติ). (5) บริเวณพื้นที่ 15 ไมล์จากนครเมกกะห์.
เชิงอรรถ: www.islam-guide.com |