คู่มือเพื่อความเข้าใจศาสนาอิสลามพร้อมภาพประกอบฉบับย่อ

You are here: Islam Guide โฮมเพจ > บทที่ 1, หลักฐานบางประการที่บอกถึงความเป็นจริงของศาสนาอิสลาม >  ปาฏิหาริย์ในทางวิทยาศาสตร์ที่ปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์กุรอาน > ช) พระคัมภีร์กุรอานว่าด้วยกลุ่มเมฆ

ช) พระคัมภีร์กุรอานว่าด้วยกลุ่มเมฆ:

Sนักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาถึงรูปแบบต่างๆ ของกลุ่มเมฆ และทราบว่า เมฆฝนจะก่อตัวและมีรูปทรงไปตามระบบที่แน่นอนและตามขั้นตอนต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับประเภทของลมและกลุ่มเมฆด้วย.

เมฆฝนชนิดหนึ่งก็คือ เมฆฝนฟ้าคะนอง  นักอุตุนิยมวิทยาได้ศึกษาถึงวิธีการก่อตัวของเมฆฝนฟ้าคะนอง และวิธีการที่เมฆฝนประเภทนี้ก่อให้เกิดฝน ลูกเห็บ และฟ้าแลบ.

นักวิทยาศาสตร์พบว่า เมฆฝนฟ้าคะนองจะไปตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ เพื่อทำให้เกิดฝนตก:

1) กลุ่มเมฆจะถูกผลักดันโดยกระแสลม เมฆฝนฟ้าคะนองจะเริ่มก่อตัวเมื่อกระแสลมผลักดันเมฆก้อนเล็กๆ (เมฆฝนฟ้าคะนอง) ไปยังบริเวณที่กลุ่มเมฆดังกล่าวนี้มาบรรจบกัน (ดูรูปที่ 17และ18).

รูปที่ 17 (คลิกที่รูปภาพเพื่อขยายใหญ่)

รูปที่ 17:จากภาพถ่ายดาวเทียมแสดงให้เห็นว่า กลุ่มเมฆต่างๆ กำลังเคลื่อนตัวไปข้างหน้าเพื่อไปบรรจบกันตรงบริเวณอักษร B, C และ D เครื่องหมายลูกศรจะบอกให้ทราบถึงทิศทางของกระแสลม (The Use of Satellite Pictures in Weather Analysis and Forecasting ของ Anderson และคณะ หน้า 188) (คลิกที่รูปภาพเพื่อขยายใหญ่)

รูปที่ 18 (คลิกบนรูปภาพเพื่อขยายใหญ่)

รูปที่ 18:ชิ้นส่วนขนาดเล็กของก้อนเมฆ (เมฆฝนฟ้าคะนอง) กำลังเคลื่อนตัวไปยังบริเวณที่จะมาบรรจบกันใกล้ ๆ กับเส้นขอบฟ้า ที่ซึ่งเราสามารถมองเห็นเมฆฝนฟ้าคะนองขนาดใหญ่ (Clouds and Storms ของ Ludlam ภาพที่ 7.4)   (คลิกบนรูปภาพเพื่อขยายใหญ่)

2) การรวมกัน จากนั้นบรรดาเมฆก้อนเล็กๆ ก็จะมารวมกันเพื่อก่อตัวให้เป็นกลุ่มเมฆขนาดใหญ่ขึ้น1(ดูรูปที่ 18 และ 19).

รูปที่ 19 (คลิกที่รูปภาพเพื่อขยายใหญ่)

รูปที่ 19:(A) เมฆก้อนเล็กๆ ที่กระจัดกระจายกันอยู่ (เมฆฝนฟ้าคะนอง) (B) เมื่อเมฆก้อนเล็กๆ มารวมกัน กระแสอากาศไหลขึ้นในก้อนเมฆก็จะรุนแรงตามขึ้นไปด้วย จนกระทั่งก้อนเมฆมีขนาดใหญ่โตมาก  จากนั้นก็กลั่นกลายกลับมาเป็นหยดน้ำ (The Atmosphere ของ Anthes และคณะ หน้า 269) (คลิกที่รูปภาพเพื่อขยายใหญ่)

3) การทับซ้อนกันเพิ่มมากขึ้น เมื่อก้อนเมฆขนาดเล็กรวมตัวเข้าด้วยกัน จากนั้นจะเคลื่อนตัวลอยขึ้นอากาศไหลขึ้นในก้อนเมฆก็จะรุนแรงตามขึ้นไปด้วย กระแสอากาศไหลขึ้นที่อยู่ใกล้กับบริเวณศูนย์กลางของก้อนเมฆนั้นจะมีความรุนแรงมากกว่ากระแสอากาศไหลขึ้นที่อยู่ใกล้กับบริเวณริมขอบของก้อนเมฆ.2  กระแสอากาศไหลขึ้นเหล่านี้ทำให้ส่วนกลางของก้อนเมฆขยายตัวขึ้นในแนวดิ่ง.เพื่อที่ว่าก้อนเมฆจะได้ทับซ้อนกันมากขึ้นเรื่อยๆ  (ดูรูปที่ 19 (B) 20 และ 21) การขยายตัวขึ้นในแนวดิ่งนี้เป็นเหตุให้ก้อนเมฆขยายตัวล้ำเข้าไปในบริเวณที่มีบรรยากาศเย็นกว่า จึงทำให้บริเวณนี้เป็นที่ก่อตัวของหยดน้ำและลูกเห็บ และเริ่มขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เมื่อหยดน้ำและลูกเห็บเหล่านี้มีน้ำหนักมากจนเกินกว่าที่กระแสอากาศไหลขึ้นจะสามารถอุ้มไว้ได้ มันจึงเริ่มกลั่นตัวออกมาจากก้อนเมฆแล้วตกลงมาเป็นฝน ลูกเห็บ และอื่นๆ.3

รูปที่ 20:เมฆฝนฟ้าคะนอง หลังจากที่ก้อนเมฆขยายตัวใหญ่ขึ้น น้ำฝนจึงกลั่นมาจากก้อนเมฆดังกล่าว (Weather and Climate ของ Bodin หน้า 123)

รูปที่ 20

Figure 21

รูปที่ 21: เมฆฝนฟ้าคะนอง (A Colour Guide to Clouds ของ Scorer และ Wexler หน้า 23)

พระผู้เป็นเจ้าทรงตรัสไว้ในพระคัมภีร์กุรอานดังนี้ :

 เจ้ามิได้เห็นดอกหรือว่า แท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงให้เมฆลอย แล้วทรงทำให้ประสานตัวกัน แล้วทรงทำให้รวมกันเป็นกลุ่มก้อน แล้วเจ้าก็จะเห็นฝนโปรยลงมาจากกลุ่มเมฆนั้น....  (พระคัมภีร์กุรอาน, 24:43)

นักอุตุนิยมวิทยาเพิ่งได้ทราบขั้นตอนรายละเอียดเกี่ยวกับการก่อตัว โครงสร้าง และหน้าที่ของก้อนเมฆเมื่อไม่นานมานี้ ด้วยการใช้เครื่องมือที่ล้ำสมัย อย่างเช่น เครื่องบิน ดาวเทียม คอมพิวเตอร์ บอลลูน และอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อศึกษากระแสลมและทิศทางลม เพื่อตรวจวัดความชื้นและค่าความแปรปรวนของความชื้น อีกทั้งเพื่อพิจารณาถึงระดับและการแปรปรวนของความกดดันในชั้นบรรยากาศอีกด้วย.4

โคลงบทที่ได้กล่าวมาแล้วก่อนหน้านี้ หลังจากที่ได้กล่าวถึงกลุ่มเมฆและฝน ได้พูดถึงลูกเห็บและฟ้าแลบดังน:

 และพระองค์ทรงให้มันตกลงมาจากฟากฟ้ามีขนาดเท่าภูเขา ในนั้นมีลูกเห็บ แล้วพระองค์จะทรงให้มันหล่นลงมาโดนผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และพระองค์จะทรงให้มันผ่านพ้นไปจากผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ แสงประกายของสายฟ้าแลบเกือบจะเฉี่ยวสายตาผู้มอง (พระคัมภีร์กุรอาน, 24:43)

นักอุตุนิยมวิทยาได้พบว่า กลุ่มเมฆฝนฟ้าคะนองเหล่านี้  ซึ่งทำให้เกิดลูกเห็บโปรยปรายตกลงมานั้น จะอยู่ที่ระดับความสูง 25,000 ถึง 30,000 ฟุต (4.7 ถึง 5.7 ไมล์),5อย่างเช่น เทือกเขาต่าง ๆ ดังที่พระคัมภีร์กุรอานได้กล่าวไว้ “…และพระองค์ทรงให้มันตกลงมาจากฟากฟ้ามีขนาดเท่าภูเขา...  (ดูรูปที่ 21ข้างต้น ).

โคลงบทนี้อาจก่อให้เกิดคำถามตามมาว่า ทำไมโคลงบทดังกล่าวจึงกล่าวว่า แสงประกายของสายฟ้า เป็นการอ้างถึงลูกเห็บ เช่นนี้หมายความว่าลูกเห็บเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการก่อให้เกิดแสงฟ้าแลบหรือ ขอให้เราดูหนังสือที่มีชื่อว่า Meteorology Today ที่กล่าวถึงเรื่องนี้  หนังสือเล่มนี้กล่าวว่า ก้อนเมฆจะเกิดประจุไฟฟ้าขึ้น ขณะที่ลูกเห็บตกผ่านลงมายังบริเวณก้อนเมฆที่มีหยดน้ำเย็นจัดและก้อนผลึกน้ำแข็ง เมื่อหยดน้ำเกิดการกระทบกับลูกเห็บ หยดน้ำก็จะแข็งตัวในทันทีที่สัมผัสกับลูกเห็บ และปล่อยความร้อนแฝงออกมา.  สิ่งนี้ทำให้พื้นผิวของลูกเห็บอุ่นกว่าผลึกน้ำแข็งที่อยู่รายรอบ  เมื่อลูกเห็บสัมผัสกับผลึกน้ำแข็ง ก็จะเกิดปรากฏการณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งขึ้น นั่นคือ กระแสไฟฟ้าจะไหลจากวัตถุที่เย็นกว่าไปยังวัตถุที่อุ่นกว่า ดังนี้ ลูกเห็บจึงกลายเป็นประจุไฟฟ้าลบ ปฏิกิริยาเดียวกันนี้จะเกิดขึ้นเมื่อหยดน้ำเย็นจัดสัมผัสกับลูกเห็บและสะเก็ดขนาดเล็กที่แตกออกมาจากผลึกนำแข็งซึ่งมีประจุบวก. อนุภาคของประจุไฟฟ้าบวกที่มีน้ำหนักเบาเหล่านี้ ในเวลาต่อมาจะถูกกระแสอากาศไหลขึ้นพัดพาขึ้นไปยังส่วนบนของก้อนเมฆ ลูกเห็บซึ่งมีประจุลบ จะตกลงสู่บริเวณด้านล่างของก้อนเมฆ ดังนี้ ส่วนล่างของก้อนเมฆจะเปลี่ยนเป็นประจุไฟฟ้าลบ หลังจากนั้นประจุไฟฟ้าลบนี้จะถูกปล่อยออกมาเป็นแสงฟ้าแลบ.6 เราจึงพอสรุปปรากฏการณ์ดังกล่าวได้ว่า ลูกเห็บนั้นเป็นปัจจัยสำคัญในการก่อให้เกิดฟ้าแลบ.

ข้อมูลที่เกี่ยวกับแสงฟ้าแลบเหล่านี้ ได้ถูกค้นพบเมื่อไม่นานมานี้ อยู่มาจนถึงปี พ.ศ. 2143 ความคิดของอริสโตเติลที่เกี่ยวกับเรื่องอุตุนิยมวิทยาจึงมีความเด่นชัดขึ้น ตัวอย่างเช่น เขาเคยกล่าวไว้ว่า ในบรรยากาศนั้นประกอบไปด้วยไอระเหยของอนุภาคสองชนิด นั่นคือ ความแห้งและความชื้น เขายังได้กล่าวอีกด้วยว่า ฟ้าร้อง คือเสียงการประทะกันของไอระเหยความแห้งกับกลุ่มเมฆที่อยู่ใกล้ ๆ กัน และฟ้าแลบนั้น คือ การเกิดประกายไฟและการเผาไหม้ของไอระเหยความแห้งที่มีไฟที่บางเบาและเจือจาง7 เหล่านี้ก็คือ แนวความคิดบางประการในเรื่องของอุตุนิยมวิทยา ซึ่งมีความชัดเจนยิ่งขึ้นในเวลาที่มีการเปิดเผยพระคัมภีร์กุรอาน เมื่อสิบสี่ศตวรรษที่ผ่านมา .
 

_____________________________

เชิงอรรถ:

(1) ดูที่ The Atmosphere ของ Anthes และคณะ หน้า 268-269 และ Elements of Meteorology ของ Miller และ  Thompson หน้า 141. Back from footnote (1)

(2) กระแสอากาศไหลขึ้นที่อยู่ใกล้กับศูนย์กลางจะรุนแรงกว่า เนื่องจากบริเวณรอบนอกก้อนเมฆจะปกป้องกระแสลมเหล่านี้ไม่ให้ได้รับอิทธิพลของความเย็น. Back from footnote (2)

(3) ดูที่  The Atmosphere ของ Anthes และคณะ หน้า 269 และ Elements of Meteorology ของ  Miller และ Thompson หน้า 141-142. Back from footnote (3)

(4) ดูที่ Ee’jaz al-Quran al-Kareem fee Wasf Anwa’ al-Riyah, al-Sohob, al-Matar, ของ Makky และคณะ หน้า 55. Back from footnote (4)

(5) Elements of Meteorology ของ Miller และ Thompson หน้า 141. Back from footnote (5)

(6) Meteorology Today ของ Ahrens  หน้า 437. Back from footnote (6)

(7)The Works of Aristotle Translated into English: Meteorologica เล่ม 3, ของ Ross และคณะหน้า 369a-369b. Back from footnote (7)

โฮมเพจ: www.islam-guide.com