คู่มือเพื่อความเข้าใจศาสนาอิสลามพร้อมภาพประกอบฉบับย่อ

You are here: Islam Guide โฮมเพจ > บทที่ 3, ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม > สิทธิมนุษยชนและความยุติธรรมในศาสนาอิสลาม

สิทธิมนุษยชนและความยุติธรรมในศาสนาอิสลาม

ศาสนาอิสลามกำหนดสิทธิมนุษยชนไว้มากมายสำหรับปัจเจกชน ต่อไปนี้คือสิทธิมนุษยชนบางประการซึ่งศาสนาอิสลามได้ดำรงรักษาไว้.

ชีวิตและทรัพย์สินของพลเมืองทุกคนในรัฐอิสลามถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นชาวมุสลิมหรือไม่ก็ตาม อีกทั้งศาสนาอิสลามยังคงดำรงรักษาไว้ซึ่งเกียรติยศศักดิ์ศรี ดังนั้น ในศาสนาอิสลาม การพูดจาจาบจ้วงผู้อื่นหรือกระทำการล้อเลียนต่อผู้อื่นถือเป็นสิ่งที่กระทำมิได้ พระศาสดามูหะหมัด  ได้ทรงตรัสไว้ว่า {แท้ที่จริงแล้วเลือดเนื้อของพวกเจ้า ทรัพย์สินของพวกเจ้าและเกียรติยศของพวกเจ้าจะล่วงละเมิดมิได้.}1

การเหยียดสีผิวจะกระทำมิได้ในศาสนาอิสลาม เนื่องจากในพระคัมภีร์กุรอานได้กล่าวถึงความเสมอภาคของมนุษย์ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้:

 โอ้มนุษยชาติทั้งหลาย แท้จริงเราได้สร้างพวกเจ้าจากเพศชาย และเพศหญิง และเราได้ให้พวกเจ้าแยกเป็นเผ่า และตระกูลเพื่อจะได้รู้จักกัน แท้จริงผู้ที่มีเกียรติยิ่งในหมู่พวกเจ้า ณ ที่อัลลอฮ์นั้น คือผู้ที่มีความยำเกรงยิ่งในหมู่พวกเจ้า แท้จริงอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้อย่างละเอียดถี่ถ้วน.2 (พระคัมภีร์กุรอาน, 49:13)

ศาสนาอิสลามปฏิเสธการกำหนดกลุ่มปัจเจกชนคนใดหรือชนชาติใดให้เป็นที่โปรดปรานเป็นพิเศษ อันเนื่องมาจากความมั่งคั่ง อำนาจ หรือเชื้อชาติของพวกเขาเหล่านั้น พระผู้เป็นเจ้าทรงสร้างหมู่มวลมนุษย์ขึ้นมาให้มีความเท่าเทียมกัน ซึ่งจะมีความแตกต่างกันก็แต่เฉพาะพื้นฐานของความศรัทธาและความเลื่อมใสในศาสนาเท่านั้น พระศาสดามูหะหมัด  ทรงตรัสไว้ว่า {โอ มนุษย์ทั้งหลาย! พระผู้เป็นเจ้าของพวกเธอก็เป็นพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวกันและบรรพบุรุษของพวกเธอ (อาดัม) ก็เป็นบรรพบุรุษคนเดียวกัน ชนชาติอาหรับก็ไม่ดีไปกว่าชนชาติที่ไม่ใช่อาหรับและชนชาติที่ไม่ใช่อาหรับก็ไม่ดีไปกว่าชนชาติอาหรับ และบุคคลผิวสีแดง (เช่น สีขาวแต่งแต้มไว้ด้วยสีแดง)ก็ไม่ดีไปกว่าบุคคลที่มีผิวสีดำและบุคคลที่มีผิวสีดำก็ไม่ดีไปกว่าบุคคลที่มีผิวสีแดง,3 ยกเว้นในเรื่องของความเลื่อมใสในศาสนา.}4

ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งในปัญหาสำคัญอื่นๆ ที่มนุษยชาติต่างประสบอยู่ทุกวันนี้ก็คือลัทธิการเหยียดสีผิว ประเทศที่พัฒนาแล้วสามารถส่งมนุษย์ขึ้นไปยังดวงจันทร์ได้ แต่ไม่สามารถห้ามมนุษย์ให้เกลียดชังและต่อสู้กับมนุษย์ร่วมโลกได้ นับตั้งแต่ช่วงชีวิตพระศาสดามูหะหมัด , เป็นต้นมา ศาสนาอิสลามได้แสดงให้เห็นด้วยตัวอย่างที่ชัดเจนว่าสามารถยุติลัทธิเหยียดสีผิวนั้นได้อย่างไร การแสวงบุญในแต่ละปี (ฮัจจ์)ที่นครเมกกะห์แสดงให้เห็นถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันอย่างแท้จริงของพี่น้องชาวมุสลิมทุกเชื้อชาติและชนชั้น เมื่อชาวมุสลิมประมาณสองล้านคนจากทั่วทุกมุมโลกมาชุมนุมกันที่นครเมกกะห์เพื่อแสวงบุญดังกล่าว.

ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาแห่งความยุติธรรม พระผู้เป็นเจ้าทรงตรัสไว้ว่า:

 แท้จริงอัลลอฮ์ทรงใช้พวกเจ้าให้มอบคืนบรรดาของฝากแก่เจ้าของของมัน และเมื่อพวกเจ้าตัดสินระหว่างผู้คน พวกเจ้าก็จะต้องตัดสินด้วยความยุติธรรม....  (พระคัมภีร์กุรอาน, 4:58)

และพระองค์ยังทรงตรัสอีกว่า:

 ...และพวกเจ้าจงให้ความเที่ยงธรรมเถิด แท้จริงอัลลอฮ์ทรงรักใคร่บรรดาผู้ให้ความเที่ยงธรรม.  (พระคัมภีร์กุรอาน, 49:9)

พวกเราควรยุติธรรมแม้กระทั่งกับบุคคลผู้ซึ่งพวกเราต่างเกลียดชัง ตามที่พระผู้เป็นเจ้าทรงตรัสไว้ว่า:

 ...และจงอย่าให้การเกลียดชังพวกหนึ่งพวกใด ทำให้พวกเจ้าไม่ยุติธรรม จงยุติธรรมเถิด มันเป็นสิ่งที่ใกล้กับความยำเกรงยิ่งกว่า....  (พระคัมภีร์กุรอาน, 5:8)

พระศาสดามูหะหมัดทรงตรัสไว้ว่า {มนุษย์ทั้งหลาย จงระวังในเรื่องความอยุติธรรม,5 เนื่องจากความอยุติธรรมนั้นจะมีแต่ความมืดมิดในวันพิพากษาโลก.}6

และบุคคลผู้ซึ่งไม่เคยมีสิทธิใดๆ เลย (เช่น สิ่งที่พวกเขามีสิทธิ์ร้องขออย่างยุติธรรม) ในชีวิตนี้จะได้รับสิทธิต่างๆ ในวันพิพากษา อย่างที่พระศาสาดา  ทรงตรัสไว้ว่า {ในวันพิพากษาโลก สิทธิต่างๆ จะมอบให้แก่บุคคลเหล่านั้นเมื่อบุคคลเหล่านั้นถึงกำหนดได้รับ (และความไม่ถูกต้องจะได้รับการชดใช้)....}7
 

_____________________________

เชิงอรรถ:

(1) บรรยายไว้ใน Saheeh Al-Bukhari เลขที่ 1739 และ Mosnad Ahmad เลขที่ 2037. Back from footnote (1)

(2) บุคคลผู้เคร่งครัดในศาสนาคือผู้มีศรัทธาซึ่งละเว้นจากบาปทั้งปวง กระทำแต่ความดีทั้งปวง ซึ่งพระผู้เป็นเจ้าทรงบัญชาพวกเราให้กระทำ อีกทั้งต้องเกรงกลัวและรักในพระผู้เป็นเจ้า. Back from footnote (2)

(3) สีผิวที่กล่าวไว้ในคำดำรัสของพระศาสดานั้นคือตัวอย่าง ความหมายก็คือในศาสนาอิสลาม ไม่มีผู้ใดดีกว่าผู้อื่น อันเนื่องมาจากสีผิว ไม่ว่าสีขาว ดำ แดง หรือสีอื่นๆ. Back from footnote (3)

(4) บรรยายไว้ใน Mosnad Ahmad เลขที่ 22978. Back from footnote (4)

(5) ตัวอย่างเช่น การกดขี่ข่มเหงผู้อื่น การปฏิบัติอย่างอยุติธรรม หรือกระทำสิ่งไม่ถูกต้องต่อผู้อื่น. Back from footnote (5)

(6) บรรยายไว้ใน Mosnad Ahmad เลขที่ 5798 และ Saheeh Al-Bukhari เลขที่ 2447. Back from footnote (6)

(7) บรรยายไว้ใน Saheeh Muslim เลขที่ 2582 และ Mosnad Ahmad เลขที่ 7163. Back from footnote (7)
 

เชิงอรรถ: www.islam-guide.com